top of page

   หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเขียนแบบไฟฟ้าวงจรแสงสว่าง                                และเต้ารับไฟฟ้า  สำหรับติดตั้ง

1.สายป้อนไฟฟ้าและวงจรย่อย

        สายป้อนไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าระหว่างสวิตซ์หลัก (เมนสวิตซ์) กับเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินของวงจรย่อยตั้งแต่ 2 วงจรขึ้นไป

        วงจรย่อย หมายถึง สายไฟฟ้าระหว่างเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินตัวสุดท้ายกับจุดต่อเข้ากับโหลดไฟฟ้าซึ่งอาจจะมีสวิตซ์และเครื่องปลดวงจรอื่นอีกได้

 

 

โหลดที่ใช้งานอยู่ในวงจรย่อยแบ่งประเภทของโหลดได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

1. โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง คือหลอดไฟฟ้าที่เห็นใช้งานอยู่ทั่วไป ซึ่งมีหลายชนิดด้วยกันตามจุดประสงค์ของการใช้งาน และสภาพที่ติดตั้ง หลอดไฟที่ควรรู้จักเช่น

2.โหลดเต้ารับ เต้ารับแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

           1. เต้ารับใช้งานทั่วไป คือเต้ารับที่ติดตั้งอยู่ทั่วไป ไม่ทราบโหลดที่แน่นอน 

           2. เต้ารับที่ทราบโหลดแน่นอนแล้ว คิดจากขนาดของโหลดที่ใช้เต้ารับ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า

ข้อสำคัญคือเต้ารับแต่ละตัว ต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่าขนาดของวงจรย่อย เช่น วงจรย่อยขนาด 15 แอมแปร์ เต้ารับทั้งหมดที่ต่ออยู่ในวงจรย่อยต้องมีพิกัดกระแสไม่ต่ำกว่า 15 แอมแปร์ ด้วย

3.โหลดอื่น ๆ หมายถึงโหลดติดตั้งถาวรที่ต่อใช้งานอยู่ในวงจรไฟฟ้านอกเหนือไปจากโหลดแสงสว่างและโหลดเต้ารับเช่น เครื่องทำน้ำอุ่น และเครื่องปรับอากาศ

สรุปว่าโหลดของวงจรย่อยอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ โหลดไฟฟ้าแสงสว่าง โหลดเต้ารับ (ทั้งเต้ารับใช้งานทั่วไปและเต้ารับที่ทราบโหลดที่แน่นอนแล้ว) และโหลดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวร การคำนวณวงจรย่อยก็คือการนำโหลดต่าง ๆ ดังกล่าวแล้วข้างต้นมาคำนวณตามแต่ขนาดและชนิดของโหลด

2.การเขียนแบบไรเซอร์ไดอะแกรมระบบไฟฟ้า

 

            แบบไรเซอร์ไดอะแกรมจะแสดงตำแหน่งและรายละเอียดลักษณะอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าในแต่ละชั้นและระหว่างชั้น ดังนั้นลักษณะของแบบในแนวดิ่ง

 

3.การเขียนแบบวงจรไฟฟ้าชนิดไดอะแกรมเส้นเดียว

           

           แบบไดอะแกรมเส้นเดียว เป็นแบบวงจรไฟฟ้าที่แสดงตัวนำและอุปกรณ์ต่างๆในวงจรไฟฟ้า แทนด้วยเส้นเดียวโดยมีสัญลักษณ์และคำขยายความประกอบ

 

           

 

 

 

 

 

4.การเขียนแบบไฟฟ้าวงจรแสงสว่างและเต้ารับไฟฟ้า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แบบไฟฟ้าวงจรแสงสว่างและเต้ารับไฟฟ้า

 

            สรุป การเขียนแบบไฟฟ้ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจและฝึกฝนทักษะการเขียนให้ถูกต้องตรงกับสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อเป็นทักษะพื้นฐานในการประมาณการติดตั้งไฟฟ้าอย่างถูกต้อง สำหรับการเขียนแบบที่เป็นทักษะพื้นฐานประกอบด้วย การเขียนแบบสายป้อนไฟฟ้าและวงจรย่อย การเขียนแบบไรเซอร์ไดอะแกรมระบบไฟฟ้า การเขียนแบบวงจรไฟฟ้าชนิดไดอะแกรมเส้นเดียว และการเขียนแบบไฟฟ้าของวงจรแสงสว่างและเต้ารับ

310775909_775046550245652_1426134701802890046_n_edited.jpg
300373501_445385661025576_5121717199747033737_n_edited.jpg
309593485_430773445846562_1418258609797250171_n_edited.jpg
bottom of page