top of page

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 การประมาณวัสดุอุปกรณ์
และประมาณราคาค่าแรงติดตั้งไฟฟ้า

1. หลักการในการประมาณราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้า
     หลักการในการประมาณราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้า  หมายถึงการคิดค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินการในโครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าทั้งหมดเพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงาน ได้อย่างสมบูรณ์ดังนั้นการคิดราคาค่าวัสดุติดตั้งไฟฟ้านั้นเริ่มจากนำเอารายการวัสดุอุปกรณ์ที่ได้จากการถอดแบบแปลนและตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ทั้งหมดมาสืบหาราคาซึ่งจะมีทั้งราคาต่อชิ้นและราคาต่อชุด จากนั้นจึงจะนำมาคิดของวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมด 
        หลักที่สำคัญในการประมาณราคามีดังนี้
               1.1 ความถูกต้องตรงจำนวน
               1.2 ตรงตามกำหนดเวลา DUCATION
               1.3 แสดงรายการวัสดุอุปกรณ์โดยอย่างละเอียด
               1.4 จัดหมวดหมู่เอกสารอย่างเป็นระบบ
               1.5 คำนวณ ราคาประมาณการได้อย่างถูกต้อง

2. ขั้นตอนการประมาณราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้ง
         การประมาณราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้ามีขั้นตอนดังนี้
                  2.1 รวบรวมรายการและจำนวนวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าที่ได้จากการถอดแบบทั้งหมด
                  2.2 จัดทำตารางจำแนกหมวดหมู่วัสดุและอุปกรณ์อย่างเป็นระบบเพื่อความสะดวกต่อการลง ราคาและการตรวจสอบตารางที่ 7.1 ตัวอย่างการบันทึกการถอดแบบอุปกรณ์ที่นับได้








ตารางที่ 7.2 ตัวอย่างการบันทึกการถอดแบบทางเดินสายไฟหรือช่องเดินสายไฟและสายไฟ












          2.3 สำรวจราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าให้ใช้ราคาปัจจุบันในการคำนวณราคาโดยแหล่งราคามีดังนี้ 
                  2.3.1 ราคาวัสดุอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าตามที่ สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
                  2.3.2 ราคาวัสดุอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเผยแพร่
                  2.3.3 ราคาวัสดุอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าที่ผู้ขายที่กำหนดและเผยแพร่เป็นตารางราคา (Price List) ปัจจุบันหาได้จากเว็บไซต์ของ ผู้ขายขั้นต่อไป
          ควรสืบค้นราคาของวัสดุอุปกรณ์ชนิดเดียวกันมากกว่า 3 แหล่งแล้วใช้ค่าเฉลี่ยไปคิดราคาในขั้นต่อไป
          2.4 ลงราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้าในตารางรายการเพื่อคำนวณราคาโดยประมาณ
ตารางที่ 7.3 ตัวอย่างการลงราคาวัสดุและอุปกรณ์ติดตั้งไฟฟ้า
                                                          ชื่อโครงการ ...................................................
























              สรุป   การประมาณราคาวัสดุติดตั้งไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการนำเสนอราคาเพื่อให้เจ้าของงานจัดเตรียมงบประมาณและตัดสินใจเลือกผู้รับจ้างมาดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้สมบูรณ์และใช้งานได้ตามความต้องการตามแบบที่กำหนดไว้ดังนั้น การประมาณราคาวัสดุติดตั้งไฟฟ้าจึงต้องดำเนินการให้ถูกต้องและเหมาะสม

3.หลักการในการคิดค่าแรงการติดตั้งไฟฟ้าการคิดราคาค่าแรงการติดตั้งไฟฟ้า          
            การคิดราคาค่าแรงการติดตั้งไฟฟ้าพิจารณาจากความยากง่ายความประณีตของงาน  ประสบการณ์และผลงานที่ผ่านมาของผู้รับจ้างหรือผู้รับเหมา   ตลอดจนระยะทางที่ตั้งของสถานที่รวม ทั้งเป็นผู้รับจ้างดำเนินกิจการรูปแบบนิติบุคคลหรือแบบรับอิสระ  เป็นต้น  ดังนั้นจึงเป็นดุลพินิจของผู้รับจ้างจะคิดราคาค่าแรงติดตั้งจำนวนเท่าใด  เพราะค่าแรงเสมือนเป็นกำไรของการเสนอราคางานหากคิดค่าแรงมากกำไรมาก แต่โอกาสได้งานน้อย แต่ถ้าคิดค่าแรงต่ำกำไรก็ทำด้วย แต่โอกาสได้งานค่อนข้างสูงสำหรับหลักการคิดค่าแรงนั้นโดยทั่วไปคิดจากองค์ประกอบของงานระบบไฟฟ้าและจากประเภทวิธีการติดตั้งระบบไฟฟ้า


4. การคิดค่าแรงจากองค์ประกอบของงานติดตั้งไฟฟ้าระบบไฟฟ้าและประเภทวิธีการติดตั้งไฟฟ้า
           4.1 องค์ประกอบของงานระบบไฟฟ้าจำแนกออกเป็นงานระบบต่างๆดังนี้
                  4.1.1 งานหม้อแปลงไฟฟ้าและนั่งร้าน (Transformer & Concrete Poles)
                  4.1.2 ระบบสายเมนและสายป้อน (Main Feeder)                                                                                                                      4.1.3 ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting Fixture)
                  4.1.4 ระบบไฟฟ้ากำลังเต้ารับ (Receptacle
                  4.1.5 ระบบเครื่องปรับอากาศ (Air Conditioning)
                  4.1.6 ระบบโทรศัพท์ (Telephone System)
                  4.1.7 ระบบรักษาความปลอดภัย (CCTV Systern)
                  4.1.8 ระบบสัญญาณโทรทัศน์และดาวเทียม (MAT / System)
                  4.1.9 ระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm System)
                  4.1.10 ระบบป้องกันฟ้าผ่าและสายดิน (Lighting Protection & Grounding)
                  4.1.11 ระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต (Wireless Internet)
              การคิดราคาค่าแรงติดตั้งตามองค์ประกอบของงานจะคิดแยกตามรายการองค์ประกอบและรายละเอียดงานย่อยที่ปรากฏในรายการองค์ประกอบนั้นการคิดราคาค่าแรงติดตั้งแบบนี้จึงเหมาะกับงานระบบใหญ่ ได้แก่ อาคารชุดอาคารเช่ารวมอาคารพาณิชย์อาคารสาธารณะ เช่นโรงพยาบาลห้างสรรพสินค้ารวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ฯลฯ
ตารางที่ 7.4 ตัวอย่างการคิดค่าแรงติดตั้งตามองค์ประกอบของงานหม้อแปลงไฟฟ้าและนั่งร้าน





















         4.2 ประเภทวิธีการติดตั้งระบบไฟฟ้า   การติดตั้งไฟฟ้าในอาคารโดยทั่วไปมี 2 แบบคือการ แต่ในปัจจุบันจะนิยมติดตั้งติดตั้งเดินสายไฟฟ้าแบบลอยและการติดตั้งเดินสายไฟฟ้าแบบฝังในผนังแบบเดินสายไฟฟ้าร้อยท่อและ ฝังในผนังเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม
        ในการคิดราคาค่าแรงในงานติดตั้งไฟฟ้าตามวิธีติดตั้งจะคิดราคาต่อจุดคือ 1 จุดหมายถึงระยะจากสวิตช์ไปถึงหลอดหรืออุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (กรณีที่เป็นวงจรแสงสว่าง) หรือระยะจากจุดต่อสายไฟฟ้าไปหาปลั๊กหรือเต้ารับไฟฟ้า (กรณีที่เป็นวงจรไฟฟ้ากำลัง) โดยทั่วไปแล้ว 1 จุดจะมีระยะทางประมาณไม่เกิน 5-7 เมตรการคิดราคาค่าแรงติดตั้งแบบนี้จึงเหมาะสมกับการติดตั้งไฟฟ้าในบ้านหรืออาคารขนาดเล็ก ๆ
ตารางที่ 7.5 ตัวอย่าง การคิดค่าแรงติดตั้งจากจำนวนแรงงานและจำนวนจุดไฟฟ้า








          สรุป การประมาณค่าแรงติดตั้งไฟฟ้ามีความสำคัญต่อการนำเสนอราคาเพื่อให้เจ้าของงานตัดสินใจเลือกผู้รับจ้างมาดำเนินการติดตั้งระบบไฟฟ้าให้สมบูรณ์และใช้งานได้ตามความต้องการดังนั้นราคาค่าแรงในการติดตั้งไฟฟ้าที่เหมาะสมจะ เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการตัดสินใจที่เจ้าของงานจะเลือกผู้รับจ้าง

 

bottom of page